หน้าแรก สุขภาพร่างกาย 8 วิธีป้องกันอาการมือสั่น มีสาเหตุและอาการอย่างไรบ้าง

8 วิธีป้องกันอาการมือสั่น มีสาเหตุและอาการอย่างไรบ้าง

8 วิธีป้องกันอาการมือสั่น มีสาเหตุและอาการอย่างไรบ้าง

หลายคนอาจเคยมีอาการมือสั่น ซึ่งอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ เรื่องธรรมดา แต่นั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องเล็กๆทั่วไป นั่นอาจจะหมายถึงสัญญาณเตือนว่าโรคร้ายกำลังคุกคามเข้ามาภายในร่ายการของคุณแล้ว โดยอาการมือสั่นนั้นสามารถจำแนกออกได้หลายลักษณะเช่น อาการของการตื่นเต้น อาการในช่วงจังหวะที่ท้องกำลังหิว หรือเกิดความผิดปกติในสมองของผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นกล้ามเนื้อสั่น

อาการมือสั่น

โดยอาการมือสั่น อาจเป็นอาการของคนที่ต่อมไตรอยด์ทำงานเกินปกติ เรียกว่า Hyperthyroidism หมายถึงว่า ร่างกายผลิตไตรอยด์ฮอร์โมนมากกว่าปกติ ทำให้เกิดการเผาผลาญในร่างกายสูงกว่าปกติ ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เหนื่อยง่าย งุดหงิดง่าย ไม่ชอบอากาศร้อน กินได้กินดี กินได้ทั้งวันเพราะร่างกายเผาผลาญเชื้อเพลิงจากอาหารเร็วกว่าปกติ แต่หมดแรงง่ายๆ และน้ำหนักก็ลดลง เป่าลมออกจากปากได้อย่างไม่มีแรงมากนัก พอหิวจัดๆก็มือสั่นขาสั่น ปกติถ้ายื่นมือออกไปตรงๆข้างหน้า จะเห็นว่าปลายนิ้วมือจะสั่นอย่างบังคับไม่ได้เลย จะต้องเข้าพบแพทย์โดยเร็วหากเป็นอาการของต่อมไตรอยด์ทำงานผิดปกติ
แต่ถ้าเป็นอาการมือสั่นที่สาเหตุเกิดจากขาดสารอาหาร การทำงานในออฟฟิศเป็นระยะเวลานานหรือเรียกว่าอาการ ออฟฟิศซินโดรมก็อาจจะต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด เช่นหากเกิดจากการขาดสารอาหาร ขาดวิตามินอาจจะต้องทานอาหารเสริม หรือวิตามินบำรุงเพิ่มมากขึ้น หรือทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานข้าวกล้องเพื่อเพิ่มวิตามิน B ถ้าเกิดจากอาการออฟฟิศซินโดรมก็จะต้องมีการยืนเส้นยืนสายในระหว่างการทำงาน ที่นั่งเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมง อาจจะออกกำลังกายง่ายๆบริเวณโต๊ะทำงาน ลุกขึ้นเดินไปเข้าห้องน้ำเพื่อให้ร่ายกายได้หลุดจากการทำอะไรซ้ำๆเดิมบ้าง

วิธีการป้องกันอาการมือสั่นอย่างง่ายๆ

1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นประจำอาทิตย์ละ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
2. เมื่อเกิดอาการปวดเมื่อย มือสั่น อย่าฝืนร่างกาย โดยให้เดินไปดื่มน้ำ ไปเข้าห้องน้ำ 3-5นาที เป็นการแก้ปัญหาได้แล้ว เป็นการป้องกันปัญหาได้อีกด้วย
3. การระมัดระวังเรื่องความเครียด เพราะความเครียดทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้เช่นกัน
4. ควรยกของให้ถูกต้อง ถูกท่าทาง ท่ายกที่ดี มุมจุดหมุนและน้ำหนักควรอยู่ใกล้กัน พยายามให้หลังตรงตลอด เพราะมิเช่นนั้นช่วงล่างจะเกิดอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้
5. ทานอาหารที่มีคุณภาพ ให้ครบ 5 หมู่ โดยเลือกทานแต่สิ่งที่มีประโยชน์
6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน
7. บางคนดื่มกาแฟก็มีอาการสั่นที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นควรบริโภคคาเฟอีนในปริมาณที่พอดีต่อวันไม่มากจนเกินไป
8. ลดภาวะเสี่ยงต่างๆเช่นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่

อัพเดทความรู้รอบตัวใหม่ๆทาง Facebook คลิกเลย!!